ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่มีผลต่อการแปล
โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษาหรือการใช้ภาษา
โครงสร้างจะเป็นตัวบอกเราว่า
เราจะนำคำศัพท์ที่เรารู้มาประกอบกันอย่างไรจึงจะเป็นที่เข้าใจของผู้ที่เราสื่อสารด้วย
ในบทความนี้ ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นความแตกต่างทางโครงสร้างภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มักก่อให้เกิดปัญหาแก่นักแปล
ดังนี้
1. ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ ( parts of speech ) เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง
เพราะเมื่อเราสร้างประโยคเราต้องนำคำมาเรียงร้อยกันให้เกิดความหมายที่ต้องการสื่อสาร
ประเภททางไวยากรณ์ ( grammatical category ) หมายถึง ลักษณะสำคัญในไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่ง
ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับชนิดของคำ ประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญสำหรับการเปรียบเทียบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
มีดังนี้
1.1 คำนาม เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย
ได้แก่
1.1.1
บุรุษ ( person ) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึงผู้พูด
( บุรุษที่ 1 ) ผู้ที่ถูกพูดด้วย ( บุรุษที่ 2 ) หรือผู้ที่ถูกพูดถึง ( บุรุษที่ 3
) แต่ภาษาไทยไม่มีการแสดงความต่าง
1.1.2
พจน์ ( number ) เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน
ภาษาอังกฤษจะบ่งชี้พจน์โดยใช้ตัวกำหนดที่ต่างกัน เช่น a/an
นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น แต่ภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามจำนวน
1.1.3
การก ( case ) เป็นประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร
ในภาษาอังกฤษ การกเจ้าของในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเติม 's ที่หลังคำนาม แต่ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยคำเพื่อการแสดงการก
แต่ใช้การเรียงคำ
1.1.4 นามนับได้กับนามนับไม่ได้
( countable
and uncountable nouns ) คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น
นามนับได้และนามนับไม่ได้ ความแตกต่างคือจะแสดงโดยการใช้ตัวกำหนด a/an กับนามนับได้ที่เป็นเอกพจน์
และเติม –s ที่นามนับไม่ได้ ส่วนนามนับไม่ได้ต้องไม่ใช้ a/an
และไม่ต้องเติม – s
1.1.5 ความชี้เฉพาะ ( definiteness ) ผู้พูดภาษาอังกฤษจะต้องเรียนรู้การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้
เครื่องหมายที่บ่งชี้ความชี้เฉพาะคือตัวกำหนด ได้แก่ a/an ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ
และ the ซึ่งบ่งความชี้เฉพาะ
1.2 คำกริยา เป็นหัวใจของประโยค
การใช้จะซับซ้อนมาก เพราะมีประเภททางไวยากรณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้องหลายประเภท
ดังนี้
1.2.1 กาล ( tense ) ในภาษาอังกฤษต้องแสดง
กาลว่าเป็นอดีต หรือไม่ใช้อดีตผู้พูดไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากการบ่งชี้กาล
1.2.2 การณ์ลักษณะ ( aspect ) ในภาษาอังกฤษ ทุกประโยคที่เขียนหรือพูดจะต้องแสดงให้ชัดว่าเกิดขึ้นในอดีต
ปัจจุบัน หรืออนาคต และเหตุการณ์ใดเกิดก่อน-หลัง แต่ในภาษาไทย ผู้อ่านจะสามารถตีความได้เองจากปริบท
1.2.3 มาลา ( mood ) ใช้กับคำกริยา
ซึ่งทำหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์อย่างไร
มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา
ในภาษาไทย มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือวิเศษณ์เท่านั้น
1.2.4 วาจก ( voice
) เป็นตัวบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยคำกริยา ว่าประธานเป็นผู้กระทำ(
กรรคุวาจก )หรือถูกกระทำ ( กรรมวาจก ) ในภาษาอังกฤษ
ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก ในภาษาไทย
คำกริยาไม่มีการเปลี่ยนรูปในตัวของมันเองเพื่อแสดงกรรตุวาจกหรือกรรมวาจก
1.2.5
กริยาแท้กับกริยาไม่แท้ ( finite vs. non-finite ) คำกริยาในภาษาอังกฤษ
ในหนึ่งประโยคเดี่ยวจะมีกริยาแท้ได้เพียงตัวเดียวเท่านั้น
ซึ่งมีรูปแบบที่เห็นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ
ในภาษาไทย กริยาทุกตัวในประโยคไม่มีการแสดงรูปที่ต่างกัน
หรือเครื่องหมายที่จะระบุได้ทันทีว่าเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้
1.3
ชนิดของคำปะเภทอื่นๆ
คำที่มีปัญหาในตัวคำศัพท์
ได้แก่ คำบุพบท ในภาษาอังกฤษสามารถห้อยท้ายวลีหรือประโยคได้
แต่ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้าง และคำคุณศัพท์ ในภาษาอังกฤษจะต้องใช้กับ verb to be เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้าง เพราะจะใช้กริยาทั้งหมด
2.
หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง (
construction
) หมายถึง หน่วยภาษาที่มีโครงสร้าง
เมื่อเปรียบเทียบหน่วยโครงสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษพบว่ามีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
ดังนี้
2.1 หน่วยสร้างนามวลี
: ตัวกำหนด ( Determiner ) + นาม (
อังกฤษ ) & นาม ( ไทย )
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนดอยู่หน้านามเสมอ
ถ้าคำนามนั้นเป็นนามนับได้และเป็นเอกพจน์ ( ยกเว้นนามที่เป็นชื่อเฉพาะและสรรพนาม )
ส่วนในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด มีแต่คำบ่งชี้
เช่น นี้ นั้น โน้น นู้น ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้ไกลและเฉพาะเจาะจง
2.2 หน่วยสร้างนามวลี : ส่วนขยาย
+ ส่วนหลัก (อังกฤษ) vs. ส่วนหลัก + ส่วนขยาย (ไทย)
ในภาษาอังกฤษจะวางส่วนขยายไว้ข้างหน้าส่วนหลัก
ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม
คือถ้าส่วนขยายไม่ยาวเราเพียงแค่ย้ายที่ส่วนขยายจากหน้าไปหลังก็ใช้ได้
2.3 หน่วยสร้างกรรมวาจก
( passive constructions )
ในภาษาอังกฤษจะมีรูปแบบเด่นชัด
คือ ประธาน/ผู้รับการกระทำ + กริยา / verb to be + participle + ( by
+ นามวลี/ผู้กระทำ)
แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบดังกล่าวไปแล้ว
2.4 หน่วยสร้างประโยคเน้น subject ( อังกฤษ ) กับประโยคเน้น topic ( ไทย )
ภาษาไทยเป็นภาษาเน้น topic ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ
ซึ่งเป็นภาษาเน้น subject
2.5 หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย
( serial verb construction )
ไม่มีในภาษาอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น