บทที่
1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวาง
เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง , ธุรกิจ ,
การประชุมสัมมนานานาชาติ ตลอดจนในการศึกษา จึงแสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีด้วย จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย
เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก จากการที่การคมนาคมสื่อสารเจริญรุดหน้าไปมาก การแปลจึงมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆมากขึ้น
การแปล
คืออะไร
การแปล คือ
การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยให้มีใจความครบถ้วนตรงตามต้นฉบับทุกประการ
ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น
ลักษณะของงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นจะมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เป็นสำนวนไทยตามที่ใช้กันโดยทั่วไป ใช้ศัพท์เฉพาะสาขา
และศัพท์เทคนิคได้เหมาะสมครอบคลุมความหมายได้หมด
และใช้รูปแบบประโยควรรคตอนตลอดจนสำนวนเปรียบเทียบให้เหมาะสมด้วย
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3. ใช้การแปลแบบตีความ
แปลแบบเก็บความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
1.
การแปลที่ใช้ในรูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ
อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย มีดังนี้
1. องค์ประกอบของความหมาย
1.1
คำศัพท์ คือ คำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษา
จะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมายซึ่งความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
1.2
ไวยากรณ์
หมายถึง แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
1.3
เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมาก
ซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ นำเสียงเหล่านี้มารวมกันอย่างมีระเบียบ
จะทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า คำหรือคำศัพท์
2. ความหมายและรูปแบบ
ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
2.1 ในแต่ละภาษา
ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
2.2 รูปแบบเดียวกันอาจจะมีหลายความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริบทเป็น
3. ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
3.1
ความหมายอ้างอิง ( Referential meaning ) หมายถึงความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรม-นามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ
3.2
ความหมายแปล ( Connotative meaning ) เป็นความรู้สึกทางอารมณ์อาจจะเป็นความหมายในทางบวก
หรือทางลบได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3.3
ความหมายตามปริบท ( Contextual meaning )
มีหลากหลายความหมาย ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
3.4 ความหมายเชิงอุปมา ( Figurative meaning )
เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบ ผู้แปลจะต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ โดยแบ่งองค์ประกอบออกเป็น
3 ส่วนคือ
1.) สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ ( topic
)
2.) สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ ( illustration
)
3.) ประเด็นของการเปรียบเทียบ ( point
of similarity )
การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เช่น
แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนมีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องในกรแปลของตนเอง
เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา
จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ และผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนเองด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น