วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (ในห้องเรียน) ครั้งที่ 6

Learning Log (ในห้องเรียน) ครั้งที่ 6


If-clause
If-clause หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Conditional Sentence หมายถึงประโยคที่แสดงความคิดเห็นเป็นเงื่อนไขหรือเหตุผลต่อกัน ก็คือ ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ก็จะมีเหตุการณ์หนึ่งตามมา If-clause ประกอบไปด้วยประโยค (clause) 2 อนุประโยค นั่นคือ ส่วนที่มี If อยู่ เราจะเรียกว่าเป็น “If-clause” และส่วนที่ไม่มี If อยู่ จะเรียกว่าเป็น “main clause” บางทีอาจจะ If ก็ได้เพื่อจะแสดงการเน้นโดยการใช้กริยาช่องว่างไว้หน้าประโยค โดยทั่วไป  If-clause จะแบ่งเป็น 3 แบบ ซึ่งมีดังนี้ แบบที่ 1 Present real แบบที่ 2 Present unreal และแบบที่ 3 Past unreal มีรายละเอียดดังนี้


แบบที่ 1 Present real  เป็นประโยคเงื่อนไขที่ใช้แสดงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีความเป็นเป็นไปได้ มีโครงสร้างประโยค ดังนี้ If + subject + verb ช่อง 1, subject + will + verb ช่อง 1 ตัวอย่าง เช่น 
  •     If he works hard, he will pass the exam. ถ้าเขาทำงานหนักเขาจะสอบผ่าน (ในตอนนี้เขายังไม่สอบตาเขาคาดว่าเขาจะสอบผ่าน)
  •    If find her address, I will send her an invitation ถ้าฉันเจอที่อยู่เธอ ฉันจะเจอเธอ (ตอนนี้ยังหาที่อยู่ไม่เจอแต่เขาคาดว่าจะต้องเจอ)
  •         If she doesn’t hurry, she will be late. ถ้าเธอไม่รีบ เธอจะมาสาย (ถ้าตอนนี้เธอไม่รีบ เธอมีสิทธิ์ไปสายได้)

นอกจากนี้แล้ว If-clause แบบที่ 1 อาจมีการเปลี่ยนแปลงคำกริยาใน main clause ใน 4 กรณี ต่อไปนี้ คือ
1.1)  เงื่อนไขที่แสดงความเป็นไปได้ จะมีโครงสร้างดังนี้ If + subject + V1, subject + may/might + V1 เช่น If we are free, we may (or might) go to the movie to night (ถ้าพวกเราว่าง พวกเราจะไปดูหนังคืนนี้)
1.2) เงื่อนไขที่แสดงความสามารถจะใช้โครงสร้าง ดังนี้ If + subject + V1, subject + can + V1 เช่น If the rain stops, they can go out. (ถ้าฝนหยุดตก พวกเราสามารถออกไปข้างนอกได้)
1.3) เงื่อนไขที่แสดงการขอร้องหรือคำสั่ง จะใช้โครงสร้าง ดังต่อไปนี้ If + subject + V1, subject + must/should + V1 เช่น If you want to be fat, you must (should) eat more. (ถ้าคุณต้องการอ้วนคุณต้อง/ควรทานให้มากขึ้นกว่านี้)
1.4) เงื่อนไขที่แสดงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เช่นนิสัยหรือข้อเท็จจริง จะใช้โครงสร้างดังต่อไปนี้ If+ subject +V1, subject + V1 เช่น If you throw stone into-the water, it sink. (ถ้าคุณโยนก้อนหินลงในน้ำ มันจะจม)

แบบที่ 2 Present unreal  เป็นประโยคเงื่อนไขที่แสดงเหตุการณ์ที่สมมุติขึ้นในปัจจุบัน แต่เป็นไปไม่ได้ มีโครงสร้างดังนี้ If + subject +verb ช่อง 2, subject + would + verb ช่อง1 เช่น

  •    If I were bird, I would fly. (ถ้าฉันเป็นนก ฉันก็คงบินได้)
  •       If I were her, I would invest in emerging market. (ถ้าฉันเป็นเธอ ฉันก็คงลงทุนในตลาดเกิดใหม่) 

นอกจากนี้แล้ว If-clause แบบที่ 2 อาจมีคำเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน main clause ใน 2 กรณีดังต่อไปนี้ คือ 
2.1) ใช้ might แทน would เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้ และใช้ could แทน would เพื่อแสดงความสามารถ มีโครงสร้างดังนี้ If + subject + V2, subject + might/could + V1 เช่น If he tried again, he might get the answer.(ถ้าเขาพยายามอีกครั้ง เขาจะได้คำตอบ)
2.2)  ถ้าคำกริยาใน main clause เป็น verb to be จะต้องใช้ were เพียงตัวเดียว ไม่ว่าเป็นประธานใดๆก็ตาม มีโครงสร้างดังนี้ If + subject + were, subject + would + V1 เช่น If I were you, T would play with Ploy.(ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะเล่นกับพลอย)


แบบที่ 3  Past unreal นอกจากนี้แล้ว Is-clause แบบที่ 3 อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของคำกริยาใน main clause ใน 2 กรณี ต่อไปนี้ คือ
3.1) ใช้ could have แทน would have เพื่อแสดงความสามารถ มีโครงสร้างดังนี้ If + subject + had + V3, subject + could have + V3 เช่น If he had met her, he could have helped her. ถ้าเขาพบเธอ เขาสามารถที่จะช่วยเธอได้ (ซึ่งในความจริงเขาไม่ได้พบเธอ)
3.2) ใช้ might have แทน would have เพื่อแสดงความเป็นไปได้ มีโครงสร้างดังนี้ If + subject + had + V3, subject + might have + V3 เช่น If we had finished our homework, we might have gone to the movie ถ้าพวกเราทำการบ้านเสร็จ พวกเราอาจจะไปดูหนัง (ความจริงพวกเราไม่ได้ไป)


If-clause อ ประโยคที่ผู้พูดสมมุติหรือคาดคะเนว่า ถ้ามีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นก็จะมีเหตุการณ์อีกเหตุการณ์หนึ่งเกิดตามมา จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1.ส่วนที่เป็นเหตุหรือเงื่อนไข (If-clause) 2.ส่วนที่เป็นผล (main clause) จากการเรียนรู้ในห้องเรียน ดิฉันได้เข้าใจหลักการใช้ โครงสร้างของ If-clause ซึ่งทำให้ดิฉันมีความเข้าใจในเรื่อง If-clause มากขึ้น และจะสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น