วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log (ในห้องเรียน) ครั้งที่ 5

Learning Log (ในห้องเรียน) ครั้งที่ 5

โลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่มีวันหยุดนิ่ง การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้การจัดการการศึกษาและการเรียนการสอนเปลี่ยนไปอย่างมาก ดังนั้น องค์กรทางการศึกษา จึงต้องปรับตัวให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยพึงตระหนักว่าคุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับคุณภาพครูเป็นหลัก เพราะครูเป็นผู้มีบทบาทและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาของประเทศ โดยการปลูกฝังทั้งวิชาความรู้และความประพฤติแก่เด็ก ในอดีตที่ผ่านมาและปัจจุบัน ทุกประเทศที่พัฒนาแล้วได้ให้ความสำคัญกับครูโดยถือว่าเป็นบุคคลที่มีบทบาทในการสร้างอนาคตของชาติ จากการเปลี่ยนแปลงนี้ ครูจึงต้องตระหนักในการสอนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อจะสอนให้เด็กก้าวทันโลก โดยเฉพาะในยุคอาเซียนนี้ ครูจะต้องเปลี่ยนกรอบแนวความคิดหรือที่เรียกว่ากระบวนทัศน์ (Paradigm) และจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ดังนั้นครูในยุคใหม่จะต้องเรียนรู้เทคโนโลยี ภาษาต่างๆ และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แล้ววิเคราะห์ความเป็นไปได้ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ที่มีความพร้อมในระดับหนึ่ง ครูควรต้องพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ได้อย่างเหมาะสม นอกจากจะเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนแล้ว ตัวของครูเองก็ต้องมีความมุ่งมั่นในการสอน มีความแม่นยำ และละเอียดลึกซึ้งในเนื้อหาวิชา และปรับปรุง ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือครูต้องเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูควรใช้กลยุทธ์ที่แตกต่างกันออกไปในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งและควรสอนให้นักเรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ในชั้นเรียนกับชีวิตประจำวันเข้าด้วยกัน และฝึกให้นักเรียนพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการใช้กระบวนการรู้คิดของผู้เรียน โดยการเน้นให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดแบบ Meta Cognition หรืออภิปัญญา ซึ่งเป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การคิดแบบ Meta Cognition จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถรู้กระบวนการคิดของตนเอง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา ใช้ในการให้เหตุผลหรือใช้ในการตัดสินใจ จะเห็นได้ว่าในยุคอาเซียนจะมีความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษามากมาย ครูพัฒนาตนเอง และต้องกระตุ้นตัวเองให้มีการเรียนรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นกล่าวสรุปได้ว่าในยุคสมัยนี้ ครูจะต้องหาเทคนิคหรือกลวิธีการสอนแบบใหม่ๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น และตัวเราเองก็ต้องหาเทคนิคมาใช้ในการเรียน เพื่อที่จะช่วยให้ตัวเรามีพัฒนาการในด้านการเรียนได้ดียิ่งขึ้น
คุณภาพของผู้เรียนนั้นนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง เช่น ความพร้อม สติปัญญา เจตคติ และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว กระบวนการเรียนการสอนที่ครูจัดให้ก็นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูจะต้องนำเทคนิคการสอนแบบใหม่ๆมาสอนให้กับผู้เรียน เทคนิคการสอนแนวใหม่ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ประกอบด้วยเทคนิคการสอนดังต่อไปนี้ 1.เทคนิคการสอนแบบอุปนัย (Inductive)  เป็นการสอนจากตัวอย่างไปหากฎ หลักการโดยการให้นักเรียนสังเกต เปรียบเทียบแล้วพิจารณาค้นหาองค์ประกอบที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันจากตัวอย่างต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุป การสอนแบบอุปนัยจะช่วยให้นักเรียนได้ค้นพบกฎเกณฑ์หรือความจริงที่สำคัญ ๆ ด้วยตนเอง ยังเป็นการส่งเสริมการคิดของนักเรียนอีกด้วย 2.เทคนิคการสอนแบบนิรนัย (Deductive)  เป็นการสอนโดยการให้รู้หลักการ กฎ สูตรหรือนิยามก่อน แล้วจึงยกตัวอย่างประกอบ การสอนแบบนิรนัยจะช่วยทำให้นักเรียนเข้าใจกฎ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆได้ดียิ่งขึ้น แต่การสอนแบบนี้จะทำให้นักเรียนไม่ได้เกิดความคิดรวบยอดด้วยตนเอง โดยส่วนมากในประเทศไทยจะมีการสอนแบบ Deductiveมากกว่า Inductive จะเห็นได้ว่าทั้ง Deductive และ Inductive จะมีการยกตัวอย่างมาประกอบในการสอน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าการยกตัวอย่าง จะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ชัดเจนและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้  คือ น่าสนใจ, ง่ายแก่การเข้าใจ, สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง, เหมาะกับพื้นฐานความรู้ และความสนใจของผู้เรียน ในบางครั้งครูอาจจะให้นักเรียนยกตัวอย่างบ้าง เพื่อจะส่งเสริมการคิดให้ตัวผู้เรียน กล่าวได้ว่าการสอนที่ดีนั้นจะมีการยกตัวอย่างประกอบในการเรียนการสอนเพื่อที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น ส่วนตัวผู้เรียนนั่นก็ต้องตระหนักถึงการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน โดยเฉพาะในยุคนี้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมากมาย ทำให้มีสื่อที่สามารถเรียนรู้ได้หลากหลายทาง สำหรับการเรียนหนังสือไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนหรือการเรียนรู้นอกห้องเรียน "ความจำ" เป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะจะทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงจะทำให้ผู้เรียนมีความจำที่ดีขึ้นและเรียนรู้ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการจำศัพท์หรือจำเนื้อเนื้อหา ทั้งนี้การจำนั้นขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนว่ามีวิธีการจำแบบไหนเพื่อที่จะทำให้ตัวเองจำได้ง่ายขึ้น และผู้เรียนจะต้องหาเทคนิคที่จะฝึกทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน ดังนั้นผู้สอนและผู้เรียนจะต้องตระหนักในการเรียนรู้ในยุคอาเซียน โดยผู้สอนจะต้องหาวิธีการหรือเทคนิคการสอนใหม่ๆเพื่อจะนำมาสอนเด็ก และผู้เรียนจะต้องหาเทคนิคในการเรียน เพื่อที่จะช่วยให้ตนเองเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และจะทำให้เราประสบความสำเร็จในการเรียน
บทบาทของครูยุคอาเซียนคือ1. ครูจะต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm) หรือ กรอบแนวความคิดของตัวเอง กล่าวคือ เมื่อโลกได้เปลี่ยนแปลง ทำให้การจัดการศึกษานั้นเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้นครูจึงต้องเปลี่ยนแปลงกรอบความคิดของตัวเองเพื่อที่จะทำให้ตัวเองก้าวทันยุคสมัยใหม่ได้ 2. ครูจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา  กล่าวคือครูจะต้องหาความรู้ใหม่ๆอยู่ตลอดเพื่อที่จะนำมาสอนนักเรียน ให้นักเรียนนำความรู้ไปปรับใช้ในยุคอาเซียนได้ 3. ตัวของครูเองก็ต้องมีความมุ่งมั่นในการสอน มีความแม่นยำ และละเอียดลึกซึ้งในเนื้อหาวิชา 4. ครูจะต้องเน้นให้ผู้เรียนเกิดการรู้คิดแบบ Meta Cognition หรืออภิปัญญา เป็นการรู้กระบวนการคิดของตนเอง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา ใช้ในการให้เหตุผลหรือใช้ในการตัดสินใจ 5. ครูจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนของตนเอง กล่าวคือครูต้องหาเทคนิคการสอนหรือกลวิธีการสอนแบบใหม่ๆ  ได้แก่ 1.) เทคนิคการสอนแบบอุปนัย (Inductive) คือการสอนจากตัวอย่างไปหากฎหรือหลักการ ซึ่งการสอนแบบนี้จะทำให้ผู้เรียนฝึกกระบวนการคิดด้วยตนเอง 2.) เทคนิคการสอนแบบนิรนัย (Deductive) จะใช้สอนกันมากในประเทศ เป็นการสอนจากกฎหรือหลักการไปหาตัวอย่าง การสอนแบบนี้จะช่วยทำให้นักเรียนเข้าใจกฎ หรือหลักเกณฑ์ต่างๆได้ดียิ่งขึ้นแต่จะไม่ทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิดด้วยตัวเอง และยังมีเทคนิคอื่นๆอีก ได้แก่ 3.)วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice )เป็นวิธีสอนที่ให้ประสบการณ์ตรงกับผู้เรียน โดยการให้ลงมือปฏิบัติจริง เป็นการสอนที่มุ่งให้เกิดการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและภาคปฏิบัติ 4.) วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration) เป็นวิธีสอนที่ครูมีหน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำ หรือการแสดง และอาจเปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมบ้าง เป็นต้น ส่วนบทบาทของผู้เรียนในยุคอาเซียน คือ ผู้เรียนจะต้องหาเทคนิคหรือกลวิธีการเรียน เช่น เทคนิคการจำคำศัพท์ เทคนิคการฟังภาษาอังกฤษ เทคนิคการอ่าหนังสือให้เร็วขึ้น เป็นต้น และผู้เรียนจะต้องฝึกทักษะทั้ง4 อันได้แก่การพูด ฟัง อ่าน เขียน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

                ในยุคสมัยนี้การศึกษาจะมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นเราจึงต้องกระตุ้นตนเองให้มีความใฝ่รู้อยู่เสมอ และเราจะต้องฝึกกระบวนการคิดอยู่ เพราะการคิดจะทำให้เราเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณในการคิด มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม และที่สำคัญที่เราลืมไม่ได้คือเราจะต้องหาเทคนิคหรือกลวิธีมาใช้ในการฝึกทักษะทั้ง4 คือ การพูด ฟัง อ่าน และเขียน โดยการดูหนัง ฝึกอ่านอยู่บ่อยๆ เป็นต้น และในฐานะที่เราเรียนครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ เราจะต้องเปลี่ยนกรอบความคิดของตัวเราเอง (My set) คือไม่ใช่แค่จะออกไปสอนที่โรงเรียนใกล้ๆบ้าน แต่เราต้องสามารถออกไปสอนในประเทศอาเซียนอื่นๆได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น